วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

             ในยุคแรกๆ ของการใช้คอมพิวเตอร์นั้น  คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะแยกการทำงานโดยลำพัง เมื่อต้องการนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง มาใช้ทำงานในคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ก็ต้องอาศัยวิธีการที่ยุ่งยาก  เช่น  นำเอกสารที่พิมพ์  (Pinter)  ออกมาจากเครื่องแรกไปป้อนใหม่ทางแป้นพิมพ์ของเครื่องที่สองหรือบันทึกข้อมูลจากเครื่องแรกลงในแผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette)  แล้วจึงค่อยนำไปเปิดในเครื่องที่สอง  ต่อมามีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน  จึงทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น  ทำให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่ต่อร่วมเครือข่ายกันนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อาจสรุปได้  ดังต่อไปนี้

            1)  ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่  การเชื่อมต่อเครือข่ายให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด  และยังให้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน  เช่น  อุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ (Pinter)  เครื่องกราดตรวจ  (Scanner)  นอกจากนี้ยังทำงานเอกภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

 

             2)  ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  เนื่องจากระบบนี้เป็นระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อโยงกันทั่วโลก   ผลประโยชน์และผลกระทบจึงมีกว้างไกลมาก  สิ่งที่เรารู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ทุกวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น  ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจะนำมาซึ่งสิ่งใหม่ๆ  อีกมากมาย ตัวอย่างประโยชน์ที่เรานำมาใช้ในปัจจุบัน  ได้แก่  การสื่อสารด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-mail)  การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์  การศึกษาแบบ  E-Learning  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Commerce)  และการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์  (E-Banking)

 

             3)  ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติ เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน  ขณะที่มีการนำระบบนี้มาใช้ในงานวิจัย เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กระจายอยู่ในประเทศต่างๆ  ทั่วโลกสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยได้ และ แต่ละเครื่องจะได้รับส่วนแบบของงานคำนวณมาทำ  สมรรถนะของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่าย จึงยิ่งกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ใดๆ ในโลกทำให้งานวิจัยสามารถสำเร็จลุล่วงได้ในเพียงไม่กี่ปี  แทนที่จะต้องใช้เวลานานนับสิบๆ  ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น